วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การควบคุมความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส

การควบคุมความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส 

1.              การเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงค่าสลิปนั้นแม้ว่าแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์จะเปลี่ยนแปลงไป 10 % ค่าของความเร็วจะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ถ้าเปลี่ยนแปลงค่าของแรงดันต่อไปอีกก็จะทำให้ค่าแรงบิดสูงสุดและกำลังสูงสุดของมอเตอร์เปลี่ยนแปลงอย่างมากจนไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง
การควบคุมแบบนี้ต้องอาศัยแรงเฉื่อยของโหลดเพื่อทำให้ความเร็วรอบเปลี่ยนแปลง
2.              การเปลี่ยนแปลงจำนวนขั้วแม่เหล็ก
                ทำได้โดยการการเปลี่ยนการต่อปลายสายของขดลวดจะทำให้ขั้วแม่เหล็กที่สเตเตอร์เปลี่ยนแปลงเป็นผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์เปลี่ยนแปลงด้วยลักษณะการเปลี่ยนแปลงความเร็ว จะเป็นขั้นๆ
                การเปลี่ยนแปลงความเร็ววิธีนี้ใช้ได้เฉพาะมอเตอร์แบบโรเตอร์กรงกระรอกเท่านั้นการเปลี่ยนแปลงความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำโดยการเปลี่ยนแปลงขั้วแม่เหล็กอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
                 2.1 ใช้ขดลวดสเตเตอร์เพียงชุดเดียว เปลี่ยนแปลงการต่อสายของขดลวดสเตเตอร์โดยอาศัยหลักการของคอนซีเควนซ์โพล consequence pole หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มอเตอร์แบบดาลานเดอร์ ซึ่งวิธีนี้ใช้ได้กับมอเตอร์ 2 ความเร็วโดยมีอัตราส่วนของความเร็ว 2:1
                2.2 ใช้ขดลวดสเตเตอร์หลายชุด ถ้าต้องการอัตราส่วน ของความเร็วอื่นๆต้องใช้มอเตอร์ที่มีขดลวดสเตเตอร์ 2 ชุด โดยชุดแรกพันให้มี 2 pole และชุดที่ 2 พันให้มี 6 pole  ขดลวด สเตเตอร์แต่ละชุดจะถูกใช้งานไม่พร้อมกันถ้าขดลวดชุดแรกทำงาน ขดลวดอีกชุดจะปล่อยทิ้งไว้การพันดังกล่าวจะได้ความเร็วซิงโคนัส 3000/1000  รอบ/วินาที
          3. การเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบโดยการเปลี่ยนความถี่
                การสตาร์ทมอเตอร์จะมีค่า P.F ในโรเตอร์ต่ำที่ความถี่ที่ความถี่โรเตอร์มีค่าสูงด้วยเหตุนี้ในระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงความถี่ได้ในขณะสตาร์ทต้องลดความถี่ลงเพื่อให้ P.F. ของโรเตอร์มีค่าสูงขึ้นและเป็นการเพิ่มแรงบิดเริ่มหมุนต่อแอมแปร์ให้สูงขึ้นโดยการปรับเส้นแรงแม่เหล็กให้เพิ่มขึ้นด้วยวิธีการ โวลท์ต่อเฮิร์ทซ์                                                             
ดังสมการ Tµfµ  V/F
                จากสมการ Tµ V/F ดังนั้นถ้าต้องการให้แรงบิดมีค่าจะต้องรักษาแรงดันต่อความถี่ V/F ให้มีค่าคงที่การลดความถี่ลงจะเพิ่มแรงบิดเริ่มหมุน และลดกระขนาดสตาร์ทลงจึงนับว่าเป็นข้อดีในการเปลี่ยนความเร็วด้วยการควบคุมความถี่

             ช. การควบคุมความเร็วด้านโรเตอร์    

               1. ควบคุมโดยการเปลี่ยนแปลงความต้านทานในวงจรโรเตอร์ใช้ได้เฉพาะมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบวาล์วโรเตอร์เท่านั้น การปรับความเร็วสามารถทำได้โดยการต่อความต้านทานภายนอกจะทำให้แรงบิดความเร็วของโรเตอร์เปลี่ยนแปลงไป
                การเพิ่มความต้านทานเข้าไปในวงจรของโรเตอร์มากๆจะทำให้มอเตอร์มีการสูญเสียมากขึ้นและมีค่าสลิปสูงขึ้น (ความเร็วลดลง) เป็นผลให้มอเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำลง
               2.ใช้มอเตอร์ 2 ตัว ทำงานร่วมกันวิธีนี้เรียกว่า  cascade หรือ concatenation วิธีนี้ใช้มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบวาวด์โรเตอร์สองตัวมาต่อร่วมเพลาเดียวกันโดยผ่านชุดเกียร์บ็อก gear box หรือคัปปลิ้ง coupling วิธีนี้สามารถนำไปใช้งานที่มีความเร็วต่างๆกันได้อย่างน้อย 3 ความเร็วโดยการต่อขดลวด สเตเตอร์มอเตอร์ตัวที่ 1 เข้ากับแหล่งจ่ายไฟ ต่อวงจรโรเตอร์ของมันเข้ากับสเตเตอร์ตัวที่ 2 และจากสลิป-ริง ของมอเตอร์ตัวที่ 2 ต่อไปยังสตาร์ทติ้ง รีโอสตาร์ท
               จากการควบคุมความเร็วที่ได้กล่าวมาสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงความเร็วม จากสมการ Nr =(1-S)F จะเห็นได้ว่าถ้าเราเปลี่ยนแปลง S,F,P ก็จะทำให้ความเร็วเปลี่ยนแปลงไป
             ซ. คุณสมบัติของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส
                1. มอเตอร์ในสภาวะไร้โหลด
                เมื่อมอเตอร์ทำงานในสภาวะไร้โหลด กระแสในสายของขดลวดจะมีค่าอยู่ระหว่าง0.3-0.5 p.u. (ของกระแสโหลดเต็มพิกัด) กระแสดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายกับกระแสกระตุ้น Exciting current หรือกระแสเมื่อไร้โหลดของหม้อแปลงคือประกอบด้วยกระแสสองส่วนคือ
1.1      กระแสแมกเนไตซ์  Magnetizing currentเป็นกระแสที่ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กหมุน (Revolving Flux= fm)
1.2      กรกะแสที่ใช้งาน Active currentกระแสส่วนที่จ่ายให้แกการสูญเสียเนื่องจากความฝืดและแรงต้านทานจากลมบวกกับการสูญเสียในแกนเหล็กของสเตเตอร์
               เพาเวอร์แฟคเตอร์เมื่อไร้โหลดของมอเตอร์ค่อนข้างต่ำคือมีค่าประมาณ 0.2 สำหรับมอเตอร์ขนาดเล็ก แลมีค่าประมาณ 0.5 สำหรับมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ สำหรับประสิทธิภาพเป็นศูนย์ เพราะกำลังเอาท์พุตเป็นศูนย์
                2. มอเตอร์ในสภาวะโหลด
                เมื่อมอเตอร์ทำงานในสภาวะโหลดกำลังใช้งาน  Active current เป็น KW ที่มอเตอร์ต้องการจะขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับโหลดทางกล  Mechanical load ที่แกนเพลาของมอเตอร์ และเพาเวอร์แฟคเตอร์ของมอเตอร์จะเพิ่มขึ้นตามโหลดทางกลของมอเตอร์ โดยปติเมื่อมอเตอร์ทำงานขับโหลดเต็มพิกัดจะมีเพาเวอร์แฟคเตอร์เป็น 0.7 สำหรับมอเตอร์ขนาดเล็ก และ 0.9 สำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่ประสิทธิภาพของมอเตอร์เมื่อทำงานขับโหลดเต็มพิกัดจะมีค่าสูง
                      3. คุณลักษณะในขณะยึดตัวหมุน
                      กระแสของมอเตอร์ในขณะยึดตัวหมุนมีค่าประมาณ 5-6 เท่า ของกระแสเมื่อมอเตอร์ขับโหลดเต็มพิกัดจึงเป็นสาเหตูที่ทำให้ค่าสูญเสีย I2R เป็น 25-30 เท่า ของกระแสปกติดังนั้นจึงไม่ควรยึดตัวหมุนเป็นเวลานานกว่าปกติ เพราะจะทำให้เกิดความร้อนสูง ถึงแม้ว่ากำลังทางกลของมอเตอร์เป็นศูนย์แต่มอเตอร์จะสร้างแรบิดที่มีค่าสูงมากเพื่อเอาชนะแรงบิดของโหลดที่แกนเพลา กระแสขณะยึดตัวหมุนนี้คือ กระแสขณะมอเตอร์เริ่มหมุน Starting current นั้นเอง
           ฌ. มาตรฐานการแบ่ง class ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส
มอเตอร์ class A
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนปกติ กระแสเริ่มหมุนปกติและมีค่าสลิปปกติ กรงกระรอกมีความต้านทานต่ำ และค่ารีแอกแตนซ์ต่ำ
-                   นำไปใช้กับงาน เช่น พัดลม เครื่องปั้มลม ขับสายพานส่งของ และใช้กับงานที่ไม่มีการหยุดหรือเริ่มหมุนบ่อยๆ
-                   อักษรที่ใช้เป็นรหัส คือ F-R
มอเตอร์ class B
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนปกติ กระแสเริ่มหมุนต่ำและมีค่าสลิปปกติ สามารถเริ่มหมุนในขณะที่มีภาระเต็มพิกัดได้
-                   นำไปใช้กับงานที่ต้องการความเร็วรอบคงที่ และงานที่ไม่ต้องการแรงบิดในขณะเริ่มหมุนมากนัก เช่น พัดลมดูดอากาศ
-                   อักษรที่ใช้เป็นรหัส คือ B-E
มอเตอร์ class C
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนสูง กระแสเริ่มหมุนต่ำและมีค่าสลิปปกติ มอเตอร์ชนิดนี้ตัวหมุนจะเป็นแบบกรงกระรอก 2 ชั้น
-                   นำไปใช้กับงาน เช่น เครื่องกด เครื่องอัดอากาศ เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ เครื่องทอผ้า เครื่องจักรงานไม้
มอเตอร์ class D
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนสูง กระแสเริ่มหมุนต่ำและมีค่าสลิปสูง
-                   นำไปใช้งาน เช่น เครื่องตัด เครื่องปั้มโลหะขนาดใหญ่
มอเตอร์ class E
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนต่ำ กระแสเริ่มหมุนปกติและมีค่าสลิปต่ำ
-                   มอเตอร์ชนิดนี้จะมีขนาดตั้งแต่  7.5 แรงม้าขึ้นไป

มอเตอร์ class F
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนต่ำ กระแสเริ่มหมุนต่ำและมีค่าสลิปปกติ


             4.4.2 การออกแบบการพันมอเตอร์ 3 เฟส
                       A. การพันแบบ Single Layer Winding
                        จำนวน  Coil  ทั้งหมด                                                                 =   จำนวนสล็อต / 2
ตัวอย่าง
      จงออกแบบพันมอเตอร์  3  เฟส  24  สล๊อต  4 ขั้ว พันแบบ Single Layer Winding .   Fractional Pitch  Coil Span. (Standard Pole)  ความโตของสเตเตอร์  70  mm.  ความยาวสล๊อต  50  mm.  กำหนดความเข้มสนามแม่เหล็ก 0.5 wb

วิธีทำ  พันแบบ  Single Layer Winding .  
1. จำนวน  Coil  ทั้งหมด                         =   จำนวนสล็อต / 2
                                                                                  =   24/2
                                                                                   =  12  Coil
 2.Coil  /  Group                                        =  จำนวน Coil ทั้งหมด/(เฟส x pole)
                                                                   =  12/(3x12)
                                                                                         =   1   Coil  /  Group              
 3. Fractional Pitch  Coil Span.        =  (No-of Toolhslot / No-of  pole)-1
                                                                                   ( 24 / 4 )  – 1
                                                                                   =  5  Toothslot
               เพราะฉะนั้น        เฟสที่   1     ขึ้น  1    ลง     6
เมื่อ 180  องศาทางไฟฟ้า  =  5   Toothslot
       120  องศาทางไฟฟ้า  =   ( 120 / 180) x 5
                                                =  3.33   ประมาณ 4 Toothslot
               เพราะฉะนั้น        เฟสที่   2     ขึ้น  5    ลง     10
                                            เฟสที่   3     ขึ้น  9    ลง     14


การเหนี่ยวนำไฟฟ้า

การเหนี่ยวนำไฟฟ้า

                 - กฎของฟาราเดย์
                    กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามเมื่อนำตัวนำเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็กในแนวตั้งฉากจะเกิดการเหนี่ยวนำขึ้น
รูปที่ 1 แสดงทิศทางของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ

                 - กฎมือขวาของเฟรมมิ่ง
                    ยกมือขวาแล้วกลางนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ตั้งฉากซึ่งกันและกัน โดยนิ้วชี้แทนการเคลื่อนที่ของเส้นแรงแม่เหล็ก นิ้วหัวแม่มือแสดงการเคลื่อนที่ของตัวนำ และนิ้วกลางแสดงการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในตัวนำ
รูปที่ 2  กฎมือขวาของเฟรมมิ่ง
 แรงบิดในมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส
รูปที่ 3 แสดงการเหนี่ยวนำขึ้นในโรเตอร์กรงกระรอก
             จากภาพ สมมติให้ทิศทางสนามแม่เหล็กเป็นดังรูปโดยสนามแม่เหล็กจะเคลื่อนที่จาก N ไป S ส่วนตรงกลางคือกรงกระรอกซึ่งกำหนดจุด P และ Q ไว้จากกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ เมื่อนำตัวนำตัดผ่านสนามแม่เหล็กจะเกิดการเหนี่ยวนำแต่ในมอเตอร์ตัวนำคือ กรงกระรอกไม่สามารถคัดผ่านสนามแม่เหล็กได้เราจึงให้สนามแม่เหล็กตัดผ่านเพื่อหาทิศทางของกระแสของ P และ Q  โดยทั่วไปขั้ว N จะตัดด้านล่างของ P ใช้กฎมือขวาของเฟรมมิ่งหาทิศทางกระแสได้ทิศทางกระแสไหลออกและขั้ว S จะตัดด้านบนของ Q ใช้กฎมือขวาของเฟรมมิ่งหาทิศทางจะได้ทิศทางกระแสไหลเข้า
            จากภาพ P มีกระแสไหลออกใช้กฎมือขวาหาทิศทางของสนามแม่เหล็กมีทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วนQมีกระแสไหลเข้าใช้กฎมือขวาหาทิศทางของสนามแม่เหล็กมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา
             จะเห็นได้ว่าทิศทางสนามแม่เหล็กรอบตัวนำ P และ Q กับสนามแม่เหล็ก N และ S มีทั้งเสริมกันและหักล้างกันจึงทำให้ P มีแรงบิดขึ้น ส่วน Q มีแรงบิดลง จากทิศทางของสนามแม่เหล็กวิ่งจาก N ไป S ทำให้ทิศทางของสนามแม่เหล็กจาก N วิ่งผ่านด้านล่างของ P และผ่านด้านบนของ Q เกิดแรงบิดให้มอเตอร์หมุนตามเข็มนาฬิกา
มอเตอร์หมุนทวนเข็มนาฬิกา


                                                                  รูปที่ 4 แสดงการเหนี่ยวนำขึ้นในโรเตอร์กรงกระรอก


เนื่องจากทิศทางการหมุนของ Induction motor ขึ้นอยู่กับทิศทางการหมุนของ Rotating field ดังนั้นเมื่อต้องการกลับทางหมุนของมอเตอร์ จะต้องกลับทิศทางของ Rotating field นั้นเอง วิธีการกลับทิศทาง Rotating field ให้สลับกระแสที่จ่ายให้กับ field wdg. ของมอเตอร์เพียงคู่หนึ่ง

แนะนำร้านอาหารริมน้ำ: บ้านเคียงน้ำ เมืองตาก

แนะนำร้านอาหารริมน้ำ: บ้านเคียงน้ำ เมืองตาก: จาก ถนนเอเชียเลี้ยวเข้าตากมุ่งหน้าตามป้ายบอกทางไป “ลำปาง” วิ่งมานิดเดียวถึงสี่แยก ลูกศรขวาบอกไป “สุโขทัย” ทางขวาเลี้ยวเข้าเมือ...

หลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส


                                   ก. การเกิดสนามแม่เหล็กหมุน

รูปที่ 8  การเกิดสนามแม่เหล็กหมุน
           
สนามแม่เหล็กหมุนที่เกิดขึ้นในสเตเตอร์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟสซึ่งมาจากการวางขดลวดทั้ง      3 ชุดห่างกัน 120 องศาทางไฟฟ้าเมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้า 3 เฟสเข้าในขดลวดดังกล่าวมาแล้ว ณ คาบเวลาที่เปลี่ยนไปจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุน

การเกิดสนามแม่เหล็กหมุนสามารถอธิบายได้ดังนี้
ที่เวลา t1 เฟส 1 ที่ตำแหน่ง U = 0 , X =  0 คือ ตำแหน่งของขั้วแม่เหล็ก N – S เฟส 2       Z = - ,W = + และ เฟส 3 V = -, Y = + ทำให้ขั้วแม่เหล็ก N – S ชี้หรืออยู่ในทิศทางดังรูป (ก)
ที่เวลา t2 เฟส 1 ที่ตำแหน่ง U = + ,X =  -  และเฟส 2 V = -, Y = + และ ที่เฟส 3 ที่ตำแหน่ง W= + ,Z = - จากตำแหน่งที่ 2 ที่เวลา t2 ก็จะทำให้ขั้วแม่เหล็ก  N ,S เปลี่ยนตำแหน่งไปในทิศทางดังรูป (ข)
ที่เวลา t3 เฟส 1 ที่ตำแหน่ง U = + ,X =  -  และเฟส2 V = -, Y = + และ ที่เฟส 3 ที่ตำแหน่ง W= - ,Z = + ที่เวลาt3  ก็จะทำให้ขั้วแม่เหล็ก  N ,S เปลี่ยนตำแหน่งไปในทิศทางใหม่ดังรูป (ค)
ที่เวลา t4 เฟส 1 ที่ตำแหน่ง U = + ,X =  -  และเฟส 2 V = +, Y = - และ ที่เฟส 3 ที่ตำแหน่ง W= - ,Z = + ที่เวลา t4 ก็จะทำให้ขั้วแม่เหล็ก  N ,S เปลี่ยนตำแหน่งไปในทิศทางดังรูป (ง)
ที่เวลา t5 เฟส 1 ที่ตำแหน่ง U = - ,X =  +  เฟส 2 ตำแหน่ง V = +, Y = - และ เฟส 3 ที่ตำแหน่ง W= - ,Z = + ที่เวลา t5  ก็จะทำให้ขั้วแม่เหล็ก  N ,S เปลี่ยนตำแหน่งไปในทิศทางใหม่ดังรูป (จ)
ที่เวลา t6เฟส 1 ที่ตำแหน่ง U = -,X = + และเฟส 2 ที่ตำแหน่ง V = +,Y = -และเฟส 3 ที่ตำแหน่ง W = +,Z = ที่ตำแหน่งที่ 6 เวลา t6 ก็จะทำให้ขั้วแม่เหล็ก N,S เป็นไปในทิศทางใหม่ดังรูป (ฉ)
ที่เวลา t7เฟส 1 ที่ตำแหน่ง U = -,X = + และเฟส 2 ที่ตำแหน่ง V = -,Y = +และเฟส 3 ที่ตำแหน่ง W = +,Z = -
ที่ เวลา t7 ก็จะทำให้ขั้วแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใหม่ดังรูป (ช)
ที่เวลา t8เฟส 1 ที่ตำแหน่ง U = 0,X = 0 และเฟส 2 ที่ตำแหน่ง V = -,Y = +และเฟส 3ที่ตำแหน่ง W = +,Z = -
ที่ เวลา t8 ขั้วแม่เหล็ก N,S จะเปลี่ยนแปลงหรือหมุนครบรอบที่ t8 =1 รูปคลื่นไซน์ 1 ลูก ที่เฟส 1 ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุนครบ 1 รอบ พอดีที่ตำแหน่งขั้วแม่เหล็ก N,S ดังรูป (ซ)
            สรุป คือ การเกิดสนามแม่เหล็กหมุนในมอเตอร์ 3 เฟส Induction Three Phase motor เกิดได้จากการที่ขดลวดห่างกันเป็น 120 องศาทางไฟฟ้า และเมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ขดลวด ก็จะมีกระแสที่ต่างกันอยู่ 120 องศาทางไฟฟ้า ดังรูปคลื่นไซน์ กล่าวคือ สนามแม่เหล็กเกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าดังรูปคลื่นไซน์ ที่ตำแหน่งต่างๆ และที่เวลาใดๆจนครบ 1 รอบ ของการเกิดสนามแม่เหล็กหมุน

                

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มอเตอร์ 3 เฟส

             มอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส เป็นมอเตอร์ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม มีข้อดี คือ ไม่มีแปลงถ่านทำให้สูญเสียเนื่องจากความฝืดมีค่าน้อย มีตัวประกอบกำลังสูงการบำรุงรักษาง่ายการเริ่มหมุนง่าย ส่วยข้อเสียคือ การปรับความเร็วรอบทำได้ยาก แรงบิดเริ่มหมุนค่อนข้างต่ำ

            การออกแบบการพันมอเตอร์ 3 เฟส
                  A. โครงสร้างและส่วนประกอบของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส         

รูปที่ 1  
ก.       ส่วนที่อยู่กับที่หรือ สเตเตอร์(Stator )
                        มีโครงสร้างคือ ทำจากแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกัน และอัดเป็นแท่งรูปทรงกระบอกเพื่อทำหน้าที่เป็นสล๊อตวางขดลวด 3 เฟส
รูปที่ 2  

                  ข.ส่วนที่อยู่กับที่หรือโรเตอร์ (Rotor)  
โรเตอร์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส แบ่งตามโครงสร้างได้ 2 ชนิด คือ
-  โรเตอร์แบบกรงกระรอก (Squirrel – cage rotor )
                                    เป็นโรเตอร์ รูปทรงกระบอกผิวรอบๆ  โรเตอร์เรียบ ผิวด้านนอกฝังแท่งตัวนำทำด้วยทองแดงตลอดความยาวของโรเตอร์ ที่ปลายแต่ละด้านของแท่งตัวนำทุกตัวบนโรเตอร์ต่อลัดวงจรด้วยทองแดงรูปวงแหวนสำหรับโรเตอร์ ของมอเตอร์เหนี่ยวนำขนาดเล็กและขนาดกลาง จะใช้แท่งตัวนำอะลูมิเนียมฉีดเข้าไปในโรเตอร์
                                                                                                      
รูปที่ 3 
-  โรเตอร์แบบพันขดลวด( Wound rotor induction motor )
                                     โรเตอร์แบบนี้จะมีร่องสล๊อตบนแผ่นเหล็กลามิเนทที่เป็นตัวโรเตอร์ใช้สำหรับวางขดลวดอาบน้ำยาทั้ง 3 เฟส โดยการวางขดลวดเหมือนกับวางบนสเตเตอร์ คือวางแต่ละเฟสพันเรียงห่างกัน 120 องศาไฟฟ้าขดลวดที่พันบนโรเตอร์จะต่อแบบสตาร์ และปลายทั้งสามต่อออกมารับแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส จากภายนอกโดยผ่านสลิปริง ที่ติดตั้งอยู่บนแกนของโรเตอร์ ลักษณะของโรเตอร์
 
                                                                                                           รูปที่ 4
ค.      ฝาครอบ
               ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียมหล่อ ใช้ปิดหัวท้ายของมอเตอร์ และมีฝาสำหรับรองรับ แบริ่งเพื่อให้ rotor หมุนอยู่ในแนวศูนย์กลาง

                                                                                                                 รูปที่ 5
                  ง.   พัดลมระบายอากาศ
                 พัดลมจะติดอยู่กับเพลา ทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อนให้มอเตอร์
                                                                                                           รูปที่ 6
                  จ.   ฝาครอบพัดลม
                  เป็นฝาครอบของพัดลมระบายความร้อน โดยมีลักษณะที่ช่วยระบายความร้อนออกได้สะดวกขึ้นและยังใช้ป้องกันอันตรายจากใบพัดลม
                                                                                                                 รูปที่ 7
                  ฉ.   เปลือกหุ้ม
                  ทำจากเหล็กหล่อ หรืออลูมิเนียมหล่อ ที่ผิวรอบๆ Frame จะมีครีบระบายความร้อน ติดอยู่ frame มีหน้าที่เป็นตัวยึดโครงสร้างและส่วนประกอบของมอเตอร์และเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก

                                                                                                           รูปที่ 8