วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มอเตอร์ 3 เฟส

             มอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส เป็นมอเตอร์ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม มีข้อดี คือ ไม่มีแปลงถ่านทำให้สูญเสียเนื่องจากความฝืดมีค่าน้อย มีตัวประกอบกำลังสูงการบำรุงรักษาง่ายการเริ่มหมุนง่าย ส่วยข้อเสียคือ การปรับความเร็วรอบทำได้ยาก แรงบิดเริ่มหมุนค่อนข้างต่ำ

            การออกแบบการพันมอเตอร์ 3 เฟส
                  A. โครงสร้างและส่วนประกอบของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส         

รูปที่ 1  
ก.       ส่วนที่อยู่กับที่หรือ สเตเตอร์(Stator )
                        มีโครงสร้างคือ ทำจากแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกัน และอัดเป็นแท่งรูปทรงกระบอกเพื่อทำหน้าที่เป็นสล๊อตวางขดลวด 3 เฟส
รูปที่ 2  

                  ข.ส่วนที่อยู่กับที่หรือโรเตอร์ (Rotor)  
โรเตอร์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส แบ่งตามโครงสร้างได้ 2 ชนิด คือ
-  โรเตอร์แบบกรงกระรอก (Squirrel – cage rotor )
                                    เป็นโรเตอร์ รูปทรงกระบอกผิวรอบๆ  โรเตอร์เรียบ ผิวด้านนอกฝังแท่งตัวนำทำด้วยทองแดงตลอดความยาวของโรเตอร์ ที่ปลายแต่ละด้านของแท่งตัวนำทุกตัวบนโรเตอร์ต่อลัดวงจรด้วยทองแดงรูปวงแหวนสำหรับโรเตอร์ ของมอเตอร์เหนี่ยวนำขนาดเล็กและขนาดกลาง จะใช้แท่งตัวนำอะลูมิเนียมฉีดเข้าไปในโรเตอร์
                                                                                                      
รูปที่ 3 
-  โรเตอร์แบบพันขดลวด( Wound rotor induction motor )
                                     โรเตอร์แบบนี้จะมีร่องสล๊อตบนแผ่นเหล็กลามิเนทที่เป็นตัวโรเตอร์ใช้สำหรับวางขดลวดอาบน้ำยาทั้ง 3 เฟส โดยการวางขดลวดเหมือนกับวางบนสเตเตอร์ คือวางแต่ละเฟสพันเรียงห่างกัน 120 องศาไฟฟ้าขดลวดที่พันบนโรเตอร์จะต่อแบบสตาร์ และปลายทั้งสามต่อออกมารับแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส จากภายนอกโดยผ่านสลิปริง ที่ติดตั้งอยู่บนแกนของโรเตอร์ ลักษณะของโรเตอร์
 
                                                                                                           รูปที่ 4
ค.      ฝาครอบ
               ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียมหล่อ ใช้ปิดหัวท้ายของมอเตอร์ และมีฝาสำหรับรองรับ แบริ่งเพื่อให้ rotor หมุนอยู่ในแนวศูนย์กลาง

                                                                                                                 รูปที่ 5
                  ง.   พัดลมระบายอากาศ
                 พัดลมจะติดอยู่กับเพลา ทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อนให้มอเตอร์
                                                                                                           รูปที่ 6
                  จ.   ฝาครอบพัดลม
                  เป็นฝาครอบของพัดลมระบายความร้อน โดยมีลักษณะที่ช่วยระบายความร้อนออกได้สะดวกขึ้นและยังใช้ป้องกันอันตรายจากใบพัดลม
                                                                                                                 รูปที่ 7
                  ฉ.   เปลือกหุ้ม
                  ทำจากเหล็กหล่อ หรืออลูมิเนียมหล่อ ที่ผิวรอบๆ Frame จะมีครีบระบายความร้อน ติดอยู่ frame มีหน้าที่เป็นตัวยึดโครงสร้างและส่วนประกอบของมอเตอร์และเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก

                                                                                                           รูปที่ 8




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น