วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การควบคุมความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส

การควบคุมความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส 

1.              การเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงค่าสลิปนั้นแม้ว่าแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์จะเปลี่ยนแปลงไป 10 % ค่าของความเร็วจะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ถ้าเปลี่ยนแปลงค่าของแรงดันต่อไปอีกก็จะทำให้ค่าแรงบิดสูงสุดและกำลังสูงสุดของมอเตอร์เปลี่ยนแปลงอย่างมากจนไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง
การควบคุมแบบนี้ต้องอาศัยแรงเฉื่อยของโหลดเพื่อทำให้ความเร็วรอบเปลี่ยนแปลง
2.              การเปลี่ยนแปลงจำนวนขั้วแม่เหล็ก
                ทำได้โดยการการเปลี่ยนการต่อปลายสายของขดลวดจะทำให้ขั้วแม่เหล็กที่สเตเตอร์เปลี่ยนแปลงเป็นผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์เปลี่ยนแปลงด้วยลักษณะการเปลี่ยนแปลงความเร็ว จะเป็นขั้นๆ
                การเปลี่ยนแปลงความเร็ววิธีนี้ใช้ได้เฉพาะมอเตอร์แบบโรเตอร์กรงกระรอกเท่านั้นการเปลี่ยนแปลงความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำโดยการเปลี่ยนแปลงขั้วแม่เหล็กอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
                 2.1 ใช้ขดลวดสเตเตอร์เพียงชุดเดียว เปลี่ยนแปลงการต่อสายของขดลวดสเตเตอร์โดยอาศัยหลักการของคอนซีเควนซ์โพล consequence pole หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มอเตอร์แบบดาลานเดอร์ ซึ่งวิธีนี้ใช้ได้กับมอเตอร์ 2 ความเร็วโดยมีอัตราส่วนของความเร็ว 2:1
                2.2 ใช้ขดลวดสเตเตอร์หลายชุด ถ้าต้องการอัตราส่วน ของความเร็วอื่นๆต้องใช้มอเตอร์ที่มีขดลวดสเตเตอร์ 2 ชุด โดยชุดแรกพันให้มี 2 pole และชุดที่ 2 พันให้มี 6 pole  ขดลวด สเตเตอร์แต่ละชุดจะถูกใช้งานไม่พร้อมกันถ้าขดลวดชุดแรกทำงาน ขดลวดอีกชุดจะปล่อยทิ้งไว้การพันดังกล่าวจะได้ความเร็วซิงโคนัส 3000/1000  รอบ/วินาที
          3. การเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบโดยการเปลี่ยนความถี่
                การสตาร์ทมอเตอร์จะมีค่า P.F ในโรเตอร์ต่ำที่ความถี่ที่ความถี่โรเตอร์มีค่าสูงด้วยเหตุนี้ในระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงความถี่ได้ในขณะสตาร์ทต้องลดความถี่ลงเพื่อให้ P.F. ของโรเตอร์มีค่าสูงขึ้นและเป็นการเพิ่มแรงบิดเริ่มหมุนต่อแอมแปร์ให้สูงขึ้นโดยการปรับเส้นแรงแม่เหล็กให้เพิ่มขึ้นด้วยวิธีการ โวลท์ต่อเฮิร์ทซ์                                                             
ดังสมการ Tµfµ  V/F
                จากสมการ Tµ V/F ดังนั้นถ้าต้องการให้แรงบิดมีค่าจะต้องรักษาแรงดันต่อความถี่ V/F ให้มีค่าคงที่การลดความถี่ลงจะเพิ่มแรงบิดเริ่มหมุน และลดกระขนาดสตาร์ทลงจึงนับว่าเป็นข้อดีในการเปลี่ยนความเร็วด้วยการควบคุมความถี่

             ช. การควบคุมความเร็วด้านโรเตอร์    

               1. ควบคุมโดยการเปลี่ยนแปลงความต้านทานในวงจรโรเตอร์ใช้ได้เฉพาะมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบวาล์วโรเตอร์เท่านั้น การปรับความเร็วสามารถทำได้โดยการต่อความต้านทานภายนอกจะทำให้แรงบิดความเร็วของโรเตอร์เปลี่ยนแปลงไป
                การเพิ่มความต้านทานเข้าไปในวงจรของโรเตอร์มากๆจะทำให้มอเตอร์มีการสูญเสียมากขึ้นและมีค่าสลิปสูงขึ้น (ความเร็วลดลง) เป็นผลให้มอเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำลง
               2.ใช้มอเตอร์ 2 ตัว ทำงานร่วมกันวิธีนี้เรียกว่า  cascade หรือ concatenation วิธีนี้ใช้มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบวาวด์โรเตอร์สองตัวมาต่อร่วมเพลาเดียวกันโดยผ่านชุดเกียร์บ็อก gear box หรือคัปปลิ้ง coupling วิธีนี้สามารถนำไปใช้งานที่มีความเร็วต่างๆกันได้อย่างน้อย 3 ความเร็วโดยการต่อขดลวด สเตเตอร์มอเตอร์ตัวที่ 1 เข้ากับแหล่งจ่ายไฟ ต่อวงจรโรเตอร์ของมันเข้ากับสเตเตอร์ตัวที่ 2 และจากสลิป-ริง ของมอเตอร์ตัวที่ 2 ต่อไปยังสตาร์ทติ้ง รีโอสตาร์ท
               จากการควบคุมความเร็วที่ได้กล่าวมาสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงความเร็วม จากสมการ Nr =(1-S)F จะเห็นได้ว่าถ้าเราเปลี่ยนแปลง S,F,P ก็จะทำให้ความเร็วเปลี่ยนแปลงไป
             ซ. คุณสมบัติของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส
                1. มอเตอร์ในสภาวะไร้โหลด
                เมื่อมอเตอร์ทำงานในสภาวะไร้โหลด กระแสในสายของขดลวดจะมีค่าอยู่ระหว่าง0.3-0.5 p.u. (ของกระแสโหลดเต็มพิกัด) กระแสดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายกับกระแสกระตุ้น Exciting current หรือกระแสเมื่อไร้โหลดของหม้อแปลงคือประกอบด้วยกระแสสองส่วนคือ
1.1      กระแสแมกเนไตซ์  Magnetizing currentเป็นกระแสที่ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กหมุน (Revolving Flux= fm)
1.2      กรกะแสที่ใช้งาน Active currentกระแสส่วนที่จ่ายให้แกการสูญเสียเนื่องจากความฝืดและแรงต้านทานจากลมบวกกับการสูญเสียในแกนเหล็กของสเตเตอร์
               เพาเวอร์แฟคเตอร์เมื่อไร้โหลดของมอเตอร์ค่อนข้างต่ำคือมีค่าประมาณ 0.2 สำหรับมอเตอร์ขนาดเล็ก แลมีค่าประมาณ 0.5 สำหรับมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ สำหรับประสิทธิภาพเป็นศูนย์ เพราะกำลังเอาท์พุตเป็นศูนย์
                2. มอเตอร์ในสภาวะโหลด
                เมื่อมอเตอร์ทำงานในสภาวะโหลดกำลังใช้งาน  Active current เป็น KW ที่มอเตอร์ต้องการจะขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับโหลดทางกล  Mechanical load ที่แกนเพลาของมอเตอร์ และเพาเวอร์แฟคเตอร์ของมอเตอร์จะเพิ่มขึ้นตามโหลดทางกลของมอเตอร์ โดยปติเมื่อมอเตอร์ทำงานขับโหลดเต็มพิกัดจะมีเพาเวอร์แฟคเตอร์เป็น 0.7 สำหรับมอเตอร์ขนาดเล็ก และ 0.9 สำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่ประสิทธิภาพของมอเตอร์เมื่อทำงานขับโหลดเต็มพิกัดจะมีค่าสูง
                      3. คุณลักษณะในขณะยึดตัวหมุน
                      กระแสของมอเตอร์ในขณะยึดตัวหมุนมีค่าประมาณ 5-6 เท่า ของกระแสเมื่อมอเตอร์ขับโหลดเต็มพิกัดจึงเป็นสาเหตูที่ทำให้ค่าสูญเสีย I2R เป็น 25-30 เท่า ของกระแสปกติดังนั้นจึงไม่ควรยึดตัวหมุนเป็นเวลานานกว่าปกติ เพราะจะทำให้เกิดความร้อนสูง ถึงแม้ว่ากำลังทางกลของมอเตอร์เป็นศูนย์แต่มอเตอร์จะสร้างแรบิดที่มีค่าสูงมากเพื่อเอาชนะแรงบิดของโหลดที่แกนเพลา กระแสขณะยึดตัวหมุนนี้คือ กระแสขณะมอเตอร์เริ่มหมุน Starting current นั้นเอง
           ฌ. มาตรฐานการแบ่ง class ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส
มอเตอร์ class A
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนปกติ กระแสเริ่มหมุนปกติและมีค่าสลิปปกติ กรงกระรอกมีความต้านทานต่ำ และค่ารีแอกแตนซ์ต่ำ
-                   นำไปใช้กับงาน เช่น พัดลม เครื่องปั้มลม ขับสายพานส่งของ และใช้กับงานที่ไม่มีการหยุดหรือเริ่มหมุนบ่อยๆ
-                   อักษรที่ใช้เป็นรหัส คือ F-R
มอเตอร์ class B
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนปกติ กระแสเริ่มหมุนต่ำและมีค่าสลิปปกติ สามารถเริ่มหมุนในขณะที่มีภาระเต็มพิกัดได้
-                   นำไปใช้กับงานที่ต้องการความเร็วรอบคงที่ และงานที่ไม่ต้องการแรงบิดในขณะเริ่มหมุนมากนัก เช่น พัดลมดูดอากาศ
-                   อักษรที่ใช้เป็นรหัส คือ B-E
มอเตอร์ class C
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนสูง กระแสเริ่มหมุนต่ำและมีค่าสลิปปกติ มอเตอร์ชนิดนี้ตัวหมุนจะเป็นแบบกรงกระรอก 2 ชั้น
-                   นำไปใช้กับงาน เช่น เครื่องกด เครื่องอัดอากาศ เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ เครื่องทอผ้า เครื่องจักรงานไม้
มอเตอร์ class D
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนสูง กระแสเริ่มหมุนต่ำและมีค่าสลิปสูง
-                   นำไปใช้งาน เช่น เครื่องตัด เครื่องปั้มโลหะขนาดใหญ่
มอเตอร์ class E
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนต่ำ กระแสเริ่มหมุนปกติและมีค่าสลิปต่ำ
-                   มอเตอร์ชนิดนี้จะมีขนาดตั้งแต่  7.5 แรงม้าขึ้นไป

มอเตอร์ class F
-                   มีแรงบิดเริ่มหมุนต่ำ กระแสเริ่มหมุนต่ำและมีค่าสลิปปกติ


             4.4.2 การออกแบบการพันมอเตอร์ 3 เฟส
                       A. การพันแบบ Single Layer Winding
                        จำนวน  Coil  ทั้งหมด                                                                 =   จำนวนสล็อต / 2
ตัวอย่าง
      จงออกแบบพันมอเตอร์  3  เฟส  24  สล๊อต  4 ขั้ว พันแบบ Single Layer Winding .   Fractional Pitch  Coil Span. (Standard Pole)  ความโตของสเตเตอร์  70  mm.  ความยาวสล๊อต  50  mm.  กำหนดความเข้มสนามแม่เหล็ก 0.5 wb

วิธีทำ  พันแบบ  Single Layer Winding .  
1. จำนวน  Coil  ทั้งหมด                         =   จำนวนสล็อต / 2
                                                                                  =   24/2
                                                                                   =  12  Coil
 2.Coil  /  Group                                        =  จำนวน Coil ทั้งหมด/(เฟส x pole)
                                                                   =  12/(3x12)
                                                                                         =   1   Coil  /  Group              
 3. Fractional Pitch  Coil Span.        =  (No-of Toolhslot / No-of  pole)-1
                                                                                   ( 24 / 4 )  – 1
                                                                                   =  5  Toothslot
               เพราะฉะนั้น        เฟสที่   1     ขึ้น  1    ลง     6
เมื่อ 180  องศาทางไฟฟ้า  =  5   Toothslot
       120  องศาทางไฟฟ้า  =   ( 120 / 180) x 5
                                                =  3.33   ประมาณ 4 Toothslot
               เพราะฉะนั้น        เฟสที่   2     ขึ้น  5    ลง     10
                                            เฟสที่   3     ขึ้น  9    ลง     14


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น